วันอังคารที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

ยางยืด ยืดอายุ


การออกกำลังกายด้วยยางยืด
การออกกำลังกายด้วยยางยืด เป็นวิธีการออกกำลังกายด้วยแรงต้านโดยใช้อุปกรณ์เป็นยางยืดที่มีลักษณะเป็นยางเส้น หรือแผ่นยางยืด คล้ายผืนผ้า ที่มีความยืดหยุ่น เวลาดึงจะยืดออกเกิดแรงต้านมีผลต่อกล้ามเนื้อที่ใช้ในการดึงยางค้างไว้สักครู่แล้วปล่อยจะเกิดแรงดึงกลับจากการถูกดึกให้ยืดออกเรียกว่า Stretch Reflex ทุกครั้งที่ยางถูกกระตุ้นหรือถูกดึกให้ยืดออก ซึ่งเป็นคุณสมบัติพิเศษของยางยืดที่จะมีผลต่อการช่วยกระตุ้นของระบบประสาทส่วนที่รับรู้ความรู้สึกของกล้ามเนื้อและข้อต่อให้มีปฏิกิริยาการรับรู้และตอบสนองต่อแรงดึงของยางที่กำลังถูกยืดซึ่งเป็นผลดีต่อการบำบัดรักษาระบบการทำงานของกล้ามเนื้อ รวมทั้งช่วยป้องกันการเสื่อมสภาพของประสาท กล้ามเนื้อเอ็น ข้อต่อ และกระดูก

ท่าที่ 1 แขนเหยียดให้เฉียดฟ้า (บริหารกล้ามเนื้อไหล่ มัดหน้าและหลัง)



ท่าเตรียม : ยืนตรง แยกขาเสมอไหล่ มือทั้งสองข้างจับเชือกยางยืดยาวประมาณช่วงไหล่ คว่ำมือเข้า    หาตัว วางมือเฉียงไปข้างลำตัว
หายใจเข้า : อยู่ในท่าเตรียม
หายใจออก : มือซ้ายถือเชือกไปข้างหลัง มือขวาดึงเชือกขึ้นเหนือศีรษะ เหยียดแขนดึงให้สุดเท่าที่จะทำได้
หายใจเข้า : เข้าสู่ท่าเตรียม (ทำสลับข้างซ้าย ขวาเท่ากับ 1 ครั้ง) ทำซ้ำ 8-10 ครั้ง
         ท่าที่ 2 แขนเหยียดเป็นเส้นตรง (บริหารไหล่กล้ามเนื้อไหล่มัดกลาง)



ท่าเตรียม : ยืนตรง แยกขาเสมอไหล่ มือทั้งสองข้างจับเชือกยางยืดยาวประมาณช่วงไหล่ คว่ำมือเข้าหาตัว

หายใจเข้า : อยู่ในท่าเตรียม

หายใจออก : ดึงเชือกยางออกจากกันไปข้างลำตัว และยกแขนสูงระดับไหล่เหยียดตึง

หายใจเข้า : กลับสู่ท่าเตรียม (ทำซ้ำ 8-10 ครั้ง)
ท่าที่ 3 ดึงแขนจนศอกตั้ง (บริหารกล้ามเนื้อต้นแขนด้านหน้า)


          ท่าเตรียม : ยืนตรง แยกขาเสมอไหล่ เหยียบเชือกไว้ที่ฝ่าเท้าทั้งสองข้าง มือทั้งสองข้างจับเชือกยืด    หงายฝ่ามือออกด้านนอกลำตัว แขนแนบลำตัวไว้ให้เชือกตึงพอดี
หายใจเข้า : อยู่ในท่าเตรียม
         หายใจออก : ออกแรงดึงเชือกทั้งสองมือ โดยพับข้อศอกเข้าหาไหล่ แขนยังแนบลำตัว
         หายใจเข้า : กลับสู่ท่าเตรียม (ทำซ้ำ 8-10)
                                                                                        เผยแพร่โดย อภิวันท์  โอนสูงเนิน
                                                                                        นางแบบ  คุณลัดดา  อนุรักษ์แดนไทย

วันอาทิตย์ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

ตามสไตล์สูงวัย

ออกกำลังกายตามสไตล์สูงวัย

                        ท่าหมุนนิ้ว

หมุนนิ้วมือซ้ายและขวารอบนิ้วมืออีกข้างโดยระวังอย่าให้กระทบกัน

                ท่าพื้นฐาน


                จรดปลายนิ้วมือทั้งสองข้างเข้าด้วยกัน แล้ววนนิ้วมือหมุนรอบกันในทิศทางตามเข็มนาฬิกา ทำทีละคู่เริ่มตั้งแต่คู่นิ้วโป้ง เมื่อหมุนครบรอบแล้วให้กลับมาจรดกันตามเดิมจากนั้นไล่ไปยังคู่นิ้วชี้ นิ้วกลาง นิ้วนาง และนิ้วก้อยตามลำดับ เริ่มจากนิ้วโป้งผลัดกันหมุนรอบกัน ทำขั้นตอนเดียวกันกับคู่นิ้วชี้ หมุนนิ้วกลาง นิ้วนาง และนิ้วก้อยแบบเดียวกัน เมื่อหมุนถึงนิ้วก้อยแล้วให้ไล่ลำดับกับมาจากนิ้วนาง นิ้วกลาง






               POINT

                - เวลาหมุนนิ้วรอบกัน ระวังอย่าให้นิ้วสัมผัสกัน
                - ปลายนิ้วคู่ที่ไม่ได้หมุนต้องจรดกันไว้ตลอด อย่าให้เคลื่อนออกจากกัน


             ท่าพับนิ้วมือ

          พับนิ้วมือให้ปล่อยนิ้วจรดกับนิ้วโป้งพอดี จุดสำคัญอยู่ที่ต้องพับนิ้วจากบริเวณโคนนิ้วโดยไม่ให้ข้อนิ้วง้อ

         ท่าพื้นฐาน

                ยกมือทั้งสองข้างขึ้น หันฝ่ามือเข้าหากันจากนั้นพับนิ้วมือเข้ามาให้จรดกับปลายนิ้วโป้งโดยเริ่มตั้งแต่นิ้วชี้ ทำทั้งสองข้างพร้อมๆกัน  เหยีบดนิ้วทุกนิ้วให้ตั้งฉากกับนิ้วโป้งพับนิ้วชี้ลงมาให้ปลายนิ้วจรดกับปลายนิ้วโป้ง พับนิ้วกลาง นิ้วนาง และนิ้วก้อย ให้จรดกับปลายนิ้วโป้งตามลำดับ เมื่อพับมาจนถึงนิ้วก้อยแล้วให้ไล่จากนิ้วนาง นิ้วกลางกลับไปที่นิ้วชี้อีกครั้ง





                POINT

                - พับนิ้วมือที่บริเวณโคนนิ้ว
                - เพ่งสมาธิไปที่ความรู้สึกเมื่อปลายนิ้วจรดกัน
                                        
                                                                                                                     เผยแพร่โดย อภิวันท์  โอนสูงเนิน

วันอังคารที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

อาหารกับผู้สูงอายุ


อาหารกับผู้สูงอายุ

การสูงวัยมีผลให้ร่างกายมีความเสื่อม การรับประทานอาหารที่เหมาะสมจะช่วยชลอความเสื่อมของร่างกายและสุขภาพดีขึ้น เนื่องจากอาหารเป็นปัจจัยสำคัญอย่างยิ่งต่อสุขภาพ การเลือกชนิดอาหารที่เหมาะสมจะช่วยให้ผู้สูงอายุมี   ภูมิต้านทานเพิ่มขึ้นและลดปัญหาสุขภาพ แต่ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ได้รับสารอาหารไม่เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย บางคนรับประทานอาหารมากเกินไป และเลือกรับประทานอาหารไม่เหมาะสม จึงเกิดโรคภัยไข้เจ็บขึ้น

ส่วนประกอบของร่างกายที่เปลี่ยนแปลงในผู้สูงอายุได้แก่ มวลเนื้อเยื่อซึ่งได้แก่ มวลกล้ามเนื้อ มวลเนื้อเยื่อของอวัยวะภายใน  มวลกระดูก และน้ำในร่างกายลดลง แต่สัดส่วนของไขมันมากขึ้น การที่มีมวลเนื้อเยื่ออวัยวะภายในลดลงนั้น ทำให้การทำงานของอวัยวะภายในต่างๆโดยเฉพาะ หัวใจ ปอด ไต ตับ และสมองลดลงด้วย การทำงานของระบบต่างๆของร่างกายโดยเฉพาะระบบภูมิคุ้มกันก็เสื่อมถอยลง ทำให้ผู้สูงอายุมีโอกาสติดเชื้อได้ง่าย และการฟื้นตัวจากโรคก็ยากขึ้น

อาหาร นับเป็นหนึ่งในปัจจัยสี่ในการครองชีวิต และมีส่วนทำให้สุขภาพของคนสมบูรณ์แข็งแรง ถ้ารับประทานอาหารได้ถูกต้อง และเพียงพอแก่ความต้องการของร่างกาย หรืออาจทำให้เป็นโรคได้ ถ้ามีการรับประทานไม่ถูกต้อง ไม่เหมาะสมตามความต้องการ ของร่างกายในแต่ละวัย ผู้สูงอายุนับว่าเป็นวัยหนึ่ง ที่พบว่ามีปัญหาทางโภชนาการ และนำไปสู่การเกิดโรค ซึ่งทำความยุ่งยากในการรักษา และครองตนให้มีความสุข ในบั้นปลายของชีวิต

ผู้สูงอายุมีความต้องการปริมาณอาหารลดน้อยลง แต่ความต้องการสารอาหารนี้ ยังคงเดิมดังนั้นอาหารของผู้สูงอายุ ควรจัดให้มีปริมาณและคุณภาพพอเพียงกับความต้องการของร่างกาย การรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ทุกวัน ในปริมาณและสัดส่วนที่เหมาะสม เป็นสิ่งสำคัญ และควรปฏิบัติ ในการแนะนำอาหารสำหรับผู้สูงอายุ เพื่อนำไปปฏิบัติในชีวิตประจำวัน เพื่อสุขภาพอนามัยที่สมบูรณ์และพึงประสงค์



ความต้องการสารอาหารในผู้สูงอายุ

1. ความต้องการพลังงานของผู้สูงอายุ ลดลงอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งเกิดจากสาเหตุใหญ่ๆคือ การทำงานของกล้ามเนื้อลดลง การทำงานของอวัยวะต่างๆ เช่น หัวใจ ตับ ปอด น้อยลง และความต้องการของพลังงานในระยะพักลดลง ผู้สูงอายุควรเลือกรับประทานอา หารที่มีปริมาณพลังงานน้อยลง วิธีการที่ช่วยได้นอกจากการลดปริมาณการบริโภคไขมันและคาร์โบไฮเดรตก็คือการออกกำลังกายสม่ำเสมอผู้สูงอายุ ควรระวังอย่าให้อ้วน เพราะจะตามมาด้วยโรคหลายอย่าง เช่น เบาหวาน หัวใจ ไขมันอุดตันในเส้นเลือด เป็นต้น ดังนั้น ควรกินอาหารให้เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย และพยายามรักษาน้ำหนักตัวไม่ให้อ้วนหรือผอมเกินไป
 2. โปรตีน สารอาหารโปรตีน จำเป็นในการซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกาย ตั้งแต่ผิวหนัง กล้ามเนื้อ เลือด กระดูก ตลอดจนเนื้อเยื่อต่าง ๆ ผู้สูงอายุต้องการโปนตีนประมาณ 0.88 กรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม/วัน หรือเมื่อคิดเป็นพลังงาน ควรได้พลังงานจากโปรตีนประมาณ 12 - 15 เปอร์เซ็นต์ของพลังงานที่ควรได้รับทั้งหมดใน 1 วัน และควรเป็นโปรตีนที่มีคุณภาพ ได้แก่ อาหารจำพวกเนื้อสัตว์ ไข่ นม และถั่วเมล็ดแห้ง
ผู้สูงอายุ ต้องการโปรตีนน้อยกว่าบุคคลในวัยเจริญเติบโต และวัยทำงาน เนื่องจากไม่มีการเสริมสร้างการเจริญเติบโตของร่างกาย ต้องการเพียงเพื่อซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ รักษาระดับความสมดุลย์ของร่างกาย และป้องกันการเสื่อมสภาพของร่างกายก่อนวัยอันควรเท่านั้น
3. ไขมัน ความต้องการไขมัน ดังที่กล่าวแล้วข้างต้นว่าผู้สูงอายุมีความต้องการพลังงานลดลง ซึ่งอาหารที่ให้พลังงานสูงก็คือ ไขมัน ดังนั้นผู้สูงอายุจะได้รับพลังงานลดลงได้ก็โดยการลดปริมาณการบริโภคไขมัน ผู้สูงอายุควรบริโภคน้ำมันพืชที่มีกรดไลโนเลอิคมากแทนไขมันจากสัตว์ เพื่อป้องกันภาวะไขมันสูงในเลือด น้ำมันพืชที่มีกรดไลโนเลอิคสูงได้แก่ น้ำมันข้าวโพด น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันรำ เป็นต้น ปริมาณน้ำมันพืชที่ผู้สูงอายุควรได้รับต่อวัน ประมาณ 5 ช้อนเล็กหรือช้อนกาแฟ ไขมันส่วนอื่นแทรกอยู่ในเนื้อสัตว์ นม ไข่
 4. คาร์โบไฮเดรท ความต้องการคาร์โบไฮเดรต ผู้สูงอายุควรลดการบริโภคสารอาหารพวกคาร์โบไฮเดรตลง  โดยเฉพาะน้ำตาลต่างๆ เพื่อเป็นการลดปริมาณพลังงานและควรบริโภคข้าวซ้อมมือเพราะนอกจากคาร์โบไฮเดรตแล้ว ยังได้วิตามิน แร่ธาตุและใยอาหารด้วย
5. วิตามิน ช่วยให้ร่างกายทำงานได้ตามปกติ ผู้สูงอายุมีความต้องการวิตามินเท่ากับวันหนุ่มสาวแต่จะลดปริมาณวิตามินบางตัว เช่น วิตามินบี ซึ่งจะสัมพันธ์กับความต้องการของพลังงานที่ลดลง การที่ผู้สูงอายุกินอาหารอ่อน ๆ เนื่องจากมีปัญหาเรื่องฟัน อาจทำให้การได้รับวิตามินบางอย่างไม่เพียงพอ แหล่งของวิตามินส่วนใหญ่อยุ่ในผัก ผลไม้สด ดังนั้น ผู้สูงอายุควรได้กินผัก ผลไม้เพียงพอในแต่ละวัน
 6. แร่ธาตุ ผู้สูงอายุมีความต้องการแร่ธาตุเท่าเดิม แต่ส่วนมากปัญหาคือ การกินที่ไม่เพียงพอแร่ธาตุที่สำคัญ และเป็นปัญหาในผู้สูงอายุ ได้แก่ แร่ธาตุเหล็ก และแคลเซียม
6.1 แร่ธาตุเหล็ก โดยทั่วไปอาหารของผู้สูงอายุจะมีปริมาณโปรตีนต่ำ ซึ่งจะมีผลทำให้ได้รับเหล็กต่ำไปด้วย ถ้าขาดทำให้เป็นโรคซีด หรือโลหิตจาง พบว่า แม้จะกินในปริมาณที่เพียงพอ แต่การดูดซึมในผู้สูงอายุ น้อยกว่าในวัยหนุ่มสาว อาหารที่แร่ธาตุเหล็กมาก ได้แก่ ตับ เนื้อสัตว์ ไข่แดง และเลือดสัตว์ เป็นต้น และเพื่อให้การดูดซึมแร่เหล็กดีขึ้น ควรกินผักสด หรือผลไม้ที่มีวิตามินซีสูงด้วย ผู้สูงอายุต้องการแร่ธาตุเหล็กประมาณ 10 มิลิกรัม ต่อวัน
6.2 แคลเซียม คนทั่วไปมักคิดว่าเมื่อร่างกายโตเต็มที่แล้ว ไม่จำเป็นต้องได้แคลเซียมเพื่อการสร้างกระดูกและฟันอีก แต่ความเป็นจริงแล้ว แคลเซียมมีความสำคัญต่อร่างกายอีกหลายอย่าง เช่น ช่วยในการแข็งตัวของโลหิต เกี่ยวกับความยืดหดของกล้ามเนื้อ เป็นต้น เมื่อร่างกายได้แคลเซียมจากอาหารไม่เพียงพอ ก็จะดึงจากกระดูก และการขาดแคลเซียมพบมากในผู้สูงอายุ ทั้งนี้สาเหตุมาจากการกินแคลเซียมน้อย นอกจากนี้การดูดซึมและการเก็บไว้ในร่างกาย ยังมีน้อยกว่าในวัยหนุ่มสาว จึงทำให้เกิดปัญหาโรคกระดูกพรุน อาหารที่เป็นแหล่งของแคลเซียม ได้แก่ นม ปลาเล็กปลาน้อย กุ้งแก้ง เป็นต้น
 7. น้ำ มีความสำคัญต่อร่างกายมาก ช่วยให้ระบบย่อยอาหาร และการขับถ่ายของเสียส่วนมากผู้สูงอายุจะดื่มน้ำไม่เพียงพอ ดังนั้น ผู้สูงอายุควรดื่มน้ำประมาณ 6 - 8 แก้ว เป็นประจำทุกวัน
 8. เส้นใยอาหาร แม้ว่าเส้นใยอาหารจะไม่ใช่สารอาหาร แต่เส้นใยอาหารเป็นสานที่ได้จากพื้นและผักทุกชนิด ซึ่งน้ำย่อยไม่สามารถย่อยได้ มีความสำคัญต่อสุขภาพของมนุษย์มาก เพราะถ้ากินเส้นใยอาหารเป็นประจำ จะช่วยให้ท้องไม้ผูก ลดไขมันในเส้นเลือด ในทางตรงกันข้าม หากกินอาหารที่มีเส้นใยน้อยจะทำให้ร่างกายเกิดโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ เช่น ท้องผูก ริดสีดวงทวาร โรคอ้วน ไขมันในเส้นเลือดสูง เบาหวาน เป็นต้น การกินเส้นใยอาหารทำให้ถ่ายอุจจาระได้สะดวก ทำให้ร่างกายไม่หมักห่มสิ่งบูดเน่า และสารพิษบางอย่างไว้ในร่างกายนานเกินควร จึงควรป้องกันการเกิดมะเร็งในสำไส้ใหญ่ได้ คุณสมบัติพิเศษของเส้นใยอาหารที่ป้องกันโรคดังกล่าวได้ นอกจาจะไม่ถูกย่อยด้วยน้ำย่อย แต่ดูดน้ำทำให้อุจจาระนุ่มมีน้ำหนัก และถ่ายง่ายแล้ว เส้นใยอาหารยังมีไขมันและแคลอรีต่ำมาก
                                                                                                                
                            รวบรวมและเผยแพร่โดย  อภิวันท์  โอนสูงเนิน
     

วันอาทิตย์ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

การบริหารนิ้วมือ 2

ท่าที่ 3 บริหารข้อมือ 1 หมุนและง้อข้อมือเพื่อผ่อนคลายความตึงเครียด ท่าพื้นฐาน ประสานนิ้วมือทั้งสองข้างเข้าด้วยกันที่ระดับอกแล้วหมุนข้อมือเป็นวงกลมไปทางซ้ายและทางขวา 1 ประสาทนิ้วมือแบบไหนก็ได้ตามถนัด 2 หมุนข้อมือเป็นวงกลมตามรูปโดยไม่ต้องเกร็ง 3-4 5 เมื่อฝึกจนคล่องแล้วให้เพิ่มความเร็ว โดยกำหนดไว้ 3 รอบ ภายใน 1 วินาที POINT - เวลาฝึกท่าพื้นฐานให้ดึงมือลงโดยแนวดิ่ง ส่วนท่าประยุกต์ให้ดึงมือเข้าหาตัวในแนวระนาบ
ท่าที่ 4 ท่าบริหารข้อมือ 2 ผ่อนคลายข้อมือด้วยการออกแรงต้านเล็กน้อย ท่าพื้นฐาน ยกมือซ้ายขึ้นโดยการหันนิ้วก้อยเข้าหาตัวที่ระดับอก จากนั้นยกมือขวากุมมือซ้ายไว้แล้วออกแรงดันมือซ้ายลง 1 สลับข้างทำซ้ำตอนเดิม 2-3 ดึงมือลงไปจนมือตั้งฉากกับข้อมือ 4-6 ตั้งมือให้ตรงที่สุดเท่าที่จะทำได้
POINT - ถ้ายังทำไม่คล่องให้ฝึกช้าๆ สังเกตลำดับนิ้วให้แน่ใจก่อนจะพับลงมาก็ได้ การทำช้าๆก็ส่งผลให้กระตุ้นสมองเช่นกัน ท่าที่ 5 พับนิ้วมือ 1 พับนิ้วมือเข้ามาทีละนิ้วตามลำดับ เริ่มตั้งแต่นิ้วโป้งโดยทำมือขวาและซ้ายในจังหวะต่างกันเพื่อกระตุ้นสมอง ท่าพื้นฐาน แบมือทั้งสอง ง้อข้อศอกเล็กน้อยตั้งฝ่ามือขึ้นให้ปลายนิ้วชี้ขึ้นบน จากนั้นค่อยๆพับนิ้วเข้ามาทีละนิ้วตามลำดับ เริ่มจากนิ้วโป้ง โดยเริ่มพับนิ้วมือข้างใดข้างหนึ่งก่อนอีกข้าง 1 จังหวะ จากนั้นจึงทำตามลำดับพร้อมกันไปเรื่อยๆ เมื่อพับจนถึงนิ้วก้อยแล้วให้ชูนิ้วกลับคืนโดยเริ่มจากนิ้วก้อย ย้อนกลับไปเริ่มที่ข้อ 3 ทำกลับไปกลับมาหลายๆรอบ
POINT - ผ่อนไหลและแขนตามสบาย ไม่ต้องเกร็ง - บางคนอาจจะหมุนไปทางขวาหรือทางซ้ายไม่ถนัด แต่การพยายามหมุนข้อมือไปทางด้านที่ไม่ถนัดจะช่วยกระตุ้นสมองได้ดี