วันอังคารที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2559

การบริหารนิ้วมือ

วันอังคารที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2559

การบริหารนิ้วมือ



การบริหารนิ้วมือมีประสิทธิภาพในการกระตุ้นสมอง ทำให้เซลล์ประสาทในสมองเพิ่มขึ้นอย่างมาก และจุดประสานประสาทก็ทำงานดีขึ้น  อย่างไรก็ตามหากสมองได้รับการกระตุ้นในลักษณะเดียวกันอย่างต่อเนื่องไปนานๆจนเกิดความเคยชิน และในที่สุดก็จะไม่ตอบรับแรงกระทำ นั้นๆในลักษณะที่เป็นแรงกระตุ้นอีกต่อไป  ดังนั้นแม้ท่านิ้วมือจะสามารถกระตุ้นสมองได้ แต่หากทำเฉพาะท่าใดท่าหนึ่งยิ่งไม่ได้ผลเท่าที่ควร คำแนะนำคือ ควนพยายามบริหารนิ้วมือท่าต่างๆให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงรูปแบบต่างๆในสมอง



ท่าที่ 1 ยืดเหยียดนิ้วมือ 1

ท่ายืดเหยียดนิ้วมือและกางนิ้วออกเต็มที่ช่วยผ่อนคล้ายความตึงเครียดของนิ้วมือพร้อมกับส่งแรงกระตุ้นไปยังสมอง

          ท่าพื้นฐาน

          วางมือบนโต๊ะ ให้นิ้วโป้งกับนิ้วชี้ของมือทั้งสองจรดกันเป็นรูปสามเหลี่ยม ค่อยๆเลื่อนมือทั้งสองบีบเข้าหากันจนยอดสามเหลี่ยมหลุดมุมตามรูป แล้วสร้างมุมใหม่ด้วยนิ้วโป้งกับนิ้วกลางเหยียดนิ้วโป้งออกเต็มที่ ทำมุมแบบเดียวกันด้วยนิ้วโป้งกับนิ้วกลาง สร้างมุมแบบเดียวกันด้วยนิ้วโป้งกับนิ้วกลาง


POINT

          - กางหรือเหยียดนิ้วให้เต็มที่เท่าที่จะทำได้

          - เพ่งสมาธิที่ความรู้สึกขณะกางนิ้วแต่ละนิ้วออก

ท่าที่ 2 ยืดเหยียดนิ้วมือ 2

ใช้นิ้วโป้งกดบริเวณข้อนิ้วที่ 2 ของนิ้วอื่นๆให้โน้มลงและเหยียดตรงไปข้างหน้า เพื่อผ่อนคล้ายกล้ามเนื้อบริเวณข้อนิ้วแล้วโคนนิ้ว

          ท่าพื้นฐาน

          ทำพร้อมกันทั้งสองมือใช้นิ้วโป้งกดลงบนข้อนิ้วที่ 2 ของนิ้วชี้ ค้างไว้ แล้วนับ 1-5 ช้าๆจึงคล้าย จากนั้นทำแบบเดียวกับนิ้วกลาง นิ้วนาง และนิ้วก้อยตามลำดับเมื่อถึงนิ้วก้อยแล้วให้ย้อนกลับมายังนิ้วนาง นิ้วกลางจนถึงนิ้วชี้

1 ใช้นิ้วโป้งกดนิ้วชี้ให้เหยียดออกไปข้างหน้า

2 ใช้นิ้วโป้งกดนิ้วกลางให้เหยียดออกไปข้างหน้า

3 จากนั้นทำแบบเดียวกับนิ้วนาง
4 เมื่อถึงนิ้วก้อยแล้วให้ย้อนมาที่นิ้วนาง นิ้วกลาง


POINT

          - ถ้าทำสองมือพร้อมกันไม่สะดวกให้ลองฝึกที่ละมือก่อน

          - ถ้าใช้นิ้วโป้งมือเดียวกันกดไม่ถนัด จะใช้อีกมือหนึ่งช่วยกดเหยียดแต่ละนิ้วก็ได้
                                                     
                                                                                                             นำเสนอโดย  อภิวันท์ โอนสูงเนิน


การเปลี่ยนแปลงเมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุ

         
การเปลี่ยนแปลงเมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุ

สภาพร่างกาย จิตใจ ตลอดจนการดำรงอยู่ในสังคมของผู้สูงอายุ จะมีการเปลี่ยนแปลงไปจากวัยอื่น เนื่องจากความเสื่อมของการทำงานระบบต่างๆ ของร่างกายการสูญเสียบุคคลใกล้ชิด การแยกไปของสมาชิกในครอบครัว เป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลง ทางจิตใจ ผลจากความเสื่อมทางด้านร่างกาย ก็ทำให้ผู้สูงอายุรู้สึกว่าคุณค่าของตนเองลดลง ต้องพึ่งบุคคลอื่นโดยเฉพาะลูกหลานมากขึ้นจึงทำให้ผู้สูงอายุมีความรู้สึกว่าตนเองเป็นคนไร้ประโยชน์ขาดคุณค่า
          ลักษณะการเปลี่ยนแปลงตามสภาพอายุ มีผลกระทบอย่างมากต่อผู้สูงอายุเอง การทำงาน บุคคลแวดล้อมและสังคม เหตุจากความเสื่อมถอยของร่างกายที่เพิ่มขึ้นตามลำดับอายุ แต่การเสื่อมถอยนี้มิได้หมายถึงความเจ็บป่วย ผู้สูงอายุสามารถบำรุงรักษาตนเองให้คงสภาพอยู่ได้ สามารถใช้ชีวิตได้อย่างกระฉับกระเฉ่งคล่องตัวเหมือนเดิมหากเข้าใจการเปลี่ยนแปลงตามอายุ  และดูแลสุขภาพตนเองรวมทั้งการรับประทานอาหารเหมาะสมตลอดเวลา จะลดปัญหาการเจ็บป่วยและชะลอความแก่ไว้ได้นาน และไม่มีโรคภัยมาเบียดเบียน  และสิ่งสำคัญประการหนึ่งคือผู้สูงอายุเป็นทรัพยากรมนุษย์ ที่มีค่าของชาติ เพราะเป็นผู้ที่สามารถ ถ่ายทอดความรู้ และประสบการณ์ อีกทั้งยังเป็นผู้นำ และเป็นผู้ทำประโยชน์ ให้แก่สังคม หากผู้สูงอายุมีสุขภาพร่างกายแข็งแรง และสุขภาพจิตที่ดี จะเป็นมิ่งขวัญของครอบครัว และเป็นผู้ถ่ายทอดมรดกทางวัฒนธรรม ให้แก่ลูกหลานและเยาวชนได้เป็นอย่างดี

  
การเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย

         
          ผู้สูงอายุคือ มนุษย์ที่มีอายุอยู่ในช่วงปลายของชีวิต มีช่วงอายุอยู่ระหว่าง 60ปีขึ้นไป ผู้สูงอายุเป็นผู้ที่ได้มีการสั่งสมวิชาความรู้ต่างๆมามากมายตลอดชีวิต เมื่ออายุมากขึ้น สภาพร่างกาย จิตใจ ตลอดจนการดำรงอยู่ในสังคมของผู้สูงอายุ จะมีการเปลี่ยนแปลงไปจากวัยอื่น เนื่องจากมีความเสื่อมของการทำงานระบบต่างๆ ทั่วร่างกาย โดยเฉพาะระบบประสาท ระบบหัวใจและหลอดเลือด ระบบขับถ่าย ระบบต่อมไร้ท่อ ระบบกระดูก และกล้ามเนื้อ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนี้ มักจะเกิดขึ้นช้าๆ ในภาวะปกติอวัยวะของระบบต่างๆ ยังทำหน้าที่ได้อย่างปกติ แต่ในภาวะบีบคั้น ไม่ว่าจะเกิดจากทางอารมณ์ หรือทางร่างกาย หรือสังคม จะทำให้ผู้สูงอายุไม่สามารถรักษาสภาวะสมดุลของร่างกายไว้ได้ ทำให้เกิดอาการผิดปกติ และทำให้เป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ง่าย
การเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย ในผู้สูงอายุมักจะพบว่ามีความเสื่อมทางด้านระบบทางเดินอาหาร เนื่องมาจากปริมาณฟันที่มีน้อยลง ทำให้เคี้ยวอาหารได้ไม่ละเอียด ต่อมน้ำลายขับน้ำลายออกมาน้อย ไม่พอเพียงที่จะช่วยคลุกเคล้าอาหาร ประสาทกล้ามเนื้อที่ควบคุมการกลืนก็จะทำงานน้อยลง ทำให้กลืนอาหารได้ลำบาก นอกจากนี้ปริมาณน้ำย่อยต่าง ๆ ก็ลดลง ทำให้อาหารย่อยได้ไม่ดี มีอาการท้องอืด ตับและตับอ่อนเสื่อม นอกจานี้ระบบขับถ่ายอุจจาระในผู้สูงอายุมักจะเป็นไปตามปกติ เกิดท้องผูกได้ง่าย เนื่องจากมีการเคลื่อนไหวน้อยลง และไม่ค่อยได้ออกกำลังกาย

  ผม
          เป็นส่วนแรกของร่างกายที่เปลี่ยนแปลงให้เห็นได้ชัดเจน โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงจากสีเดิมเป็นสีขาว เป็นการเปลี่ยนแปลงอันหนึ่งที่บอกให้ทราบว่าผู้นั้นเริ่มมีการเสื่อมของร่างกาย แต่ยังไม่ได้บอกแน่นอนว่าเป็นคนสูงอายุ เราจะต้องพิจารณาองค์ประกอบอื่นร่วมด้วย
  
ผิวหนัง
          เมื่ออายุมากขึ้น ผิวหนังขาดการตึงตัว ไขมันใต้ผิวหนังลดลง    โดยเฉพาะที่บริเวณใบหน้าและหลังมือ แต่จะไปมีเพิ่มขึ้นบริเวณหน้าท้องและต้นขา บริเวณที่ไขมันลดลงนี้ จะทำให้ผิวหนังได้รับอันตรายได้ง่าย รวมทั้งการกดทับ เส้นเลือดฝอยใต้ผิวหนังจะหนา การซึมผ่านของออกซิเจน และอาหารเข้าสู่เซลล์เนื้อเยื่อต่ำ ความแข็งแรงของผิวหนังลดลง แตกง่าย เหี่ยวย่น ต่อมเหงื่อเหี่ยวแฟบ ขับเหงื่อได้น้อย ทำให้ผิวหนังแห้ง กระด้าง บางครั้งเป็นสาเหตุทำให้เกิดผื่นคัน ต่อมเหงื่อทำงานลดลง สีของผิวหนังจางลงเพราะเซลลสรางสีทํางานลดลง แตมีรงควัตถุสะสมเปนแหงๆ ทําใหเปนจุดสีน้ำตาลทั่วไป ผม และขนทวไปสีจางลง หรือเปนสีขาวและมีจํานวนลดลง การรับความรูสึก
ตออุณหภูมิการสั่นสะเทือน และความเจ็บปวดที่ผิวหนังลดลง เล็บแข็งและหนาขึ้น สีเล็บเขมขึ้น
  
กระดูก
          วัยสูงอายุเป็นวัยที่กระดูกเปราะง่าย ถ้าได้รับอันตรายเพียงเล็กน้อยจะทำให้กระดูกหักได้ ทั้งนี้เนื่องมาจากมีการสลายตัวของแคลเซียมออกจากกระดูกมากขึ้น และอีกสาเหตุหนึ่งคือการขาดวิตามินดี เพราะผู้สูงอายุมักไม่ชอบแสงแดด จะอยู่แต่ภายในบ้าน และการกินอาหารไม่เพียงพอเพราะมีปัญหาเรื่องการเคี้ยว โอกาสขาดวิตามินดีจึงมีสูง เมื่ออายุ 60 ปีขึ้นไป หมอนรองของกระดูกสันหลังมักจะกร่อนและแบนลงมาก ทำให้หลังโกงได้  การขาดฮอร์โมนเอสโตเจนซึ่งช่วยในการดูดซึมแคลเซี่ยมและมีการจับของแคลเซี่ยมในเนื้อกระดูก จึงมักพบภาวะกระดูกพรุน (osteoporosis) ในเพศหญิงหลังหมดประจำเดือนมากกว่าผู้สูงอายุชาย การเกิดกระดูกพรุน ทำให้ผู้สูงอายุมีกระดูกเปราะและหักง่าย กระดูกขากรรไกรล่างจะเล็กลง ประมาณครึ่งหนึ่งของวัยหนุ่มสาว ถ้าฟันหักหมดจะทำให้คางยื่นและรูปหน้าสั้นกว่าวัยหนุ่มสาว
ข้อกระดูกต่างๆ ก็เสื่อมลงเช่นกัน เยื่อหุ้มข้อ เยื่อหุ้มกระดูกจะเสื่อมสภาพไป โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าไม่มีการใช้งานจะยิ่งเสื่อมมาก ข้อใดที่ยังใช้งานจะเสื่อมน้อยกว่า ตามปกติกระดูกผิวข้อจะไม่มีเลือดหรือเส้นประสาทมาเลี้ยง การสึกกร่อนระยะแรกจึงยังไม่มีอาการปวด ต่อมาเมื่อเป็นมากขึ้นกระดูกอ่อนผิวข้อจะบางลง จนถึงเนื้อกระดูกที่รองรับอยู่ทำให้รู้สึกปวดและไม่สามารถรับนํ้าหนักได้เหมือนปกติมีการสูญเสียความยืดหยุ่นของกระดูกอ่อนที่ผิวข้อต่อ ปริมาณน้ำในกระดูกอ่อนโดยรวมลดลง ทำให้เกิดการบาดเจ็บของข้อได้ง่าย นำไปสู่ภาวะข้อเสื่อม โดยเฉพาะความอ้วน ทำให้ข้อเข่าเสื่อมลงเร็ว
กระดูกอ่อนมีการเสื่อมสลายจากการใช้งานมานานและเกิดพังผืด เยื่อหุ้มกระลูกก็มีพังผืดเกิดขึ้นเช่นกัน นํ้าเลี้ยงข้อมีลักษณะข้นกว่าวัยหนุ่มสาว การเกิดพังผืดที่ข้อร่วมกับน้ำเลี้ยงข้อข้นขึ้นทำให้ผู้สูงอายุเคลื่อนไหวข้อไม่สะดวก

การมีปัญหาเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวทำให้ผู้สูงอายุต้องจำกัดกิจกรรมลง ไม่กล้าไปไหนคนเดียว หรือรู้สึกลำบากใจถ้าต้องอยู่ในภาวะเร่งรีบ การเดินทางออกจากบ้านอาจจะน้อยครั้งลงเพราะกลัวว่าจะไม่ปลอดภัย ทำให้ผู้สูงอายุต้องอยู่กับบ้านมากขึ้น และถ้าการอยู่กับบ้าน เป็นการจำกัดให้ผู้สูงอายุใช้แรงงานในชีวิตประจำวันน้อยลงแล้ว จะยิ่งทำให้เกิดการเสื่อมของกระดูกและข้อมากขึ้น
  
เล็บ
          เล็บจะหนาแข็งและเปราะ เนื่องจากการไหลเวียนของโลหิตส่วนปลายน้อยลงทำให้การจับตัวของแคลเซียมบริเวณเล็บลดลงด้วยบริเวณเล็บจะเริ่มเปลี่ยนแปลงคือ มีสีขุ่น เหลือง เล็บเริ่มผุ เปราะ หักง่าย ปลายเล็บอาจแยกเป็นขั้น ๆ บางเล็บอาจยาวโค้ง และงุ้มคล้ายเล็บนก(Onychogryposis) บางรายมีอาการอักเสบบวมแดงจากการติดเชื้อราหรือแบคทีเรียร่วมด้วย

หู

         
ประมาณ 1/4 ของผู้สูงอายุที่มีอายุมากกว่า 65 ปี จะมีอาการหูตึงและมักจะได้ยินเสียงต่ำๆได้ชัดกว่าเสียงพูดธรรมดา เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของประสาทรับเสียงในหูชั้นใน ทำให้การส่งกระแสประสาทของเสียงไปยังอวัยวะรับการได้ยินซึ่งอยู่ในหูเสียไปปัญหามักเกิดจากการเสื่อมตามสภาพ เช่น หูตึง สมรรถภาพของหูจะลดลงจากความชรา แก้วหูของผู้สูงอายุเปรียบเสมือนหนังกลองที่หย่อน ดังนั้น ตีอย่างไรก็ไม่ดังก้อง ความสามารถในการได้ยินจึงลดลง ซึ่งอาจร่วมกับการได้รับเสียงดังผิดปกติเป็นประจำตั้งแต่ตอนเป็นเด็ก การเปลี่ยนแปลงของหูชั้นในทำให้ผู้สูงอายุสูญเสียความสามารถในการได้ยินเสียงที่มีความถี่สูงแต่ยังสามารถได้ยินเสียงที่มีความถี่ต่ำได้เหมือนวัยหนุ่มสาว นอกจากนี้ เส้นประสาทที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการทรงตัวซึ่งอยู่ใกล้ๆ กับส่วนที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการได้ยินก็มีการเปลี่ยนแปลงด้วยจึงทำให้ความสามารถในการทรงตัวลดลง มีความไม่สมดุลในขณะเดิน จึงต้องเดินกางขาไว้เพื่อป้องกันการล้ม

ตา
          เมื่อมีอายุมากขึ้นเลนส์ตาเสื่อมความสามารถในการปรับระยะภาพสายตาจะยาว เนื่องจากความยืดหยุ่นของเลนส์ลดลง ทำให้มองภาพใกล้ไม่ชัด การเปลี่ยนแปลงที่พบมากอีกคือมีวงแหวนขุ่นขาวที่เกิดรอบๆตาดำเนื่องจากขอบตาดำมีไขมันมาเกาะจับเนื้อเยื้อโดยรอบ แต่ไม่มีอันตรายใดๆและไม่ส่งผลต่อการมองเห็น


ระบบทางเดินปัสสาวะและระบบสืบพันธุ์

          น้ำหนักและขนาดของไตลดลง การไหลเวียนเลือดในไตลดลง อัตราการกรองของไตลดลง ขนาดของกระเพาะปัสสาวะลดลง กล้ามเนื้อของกระเพาะปัสสาวะอ่อนกำลังลง ดังนั้นหลังถ่ายปัสสาวะจึงมีปริมาณปัสสาวะค้างในกระเพาะปัสสาวะเพิ่มขึ้น ทำให้ต้องปัสสาวะบ่อยขึ้น
          ในผูชายตอมลูกหมากมากโตเปนผลใหถายปสสาวะลําบากได ลูกอัณฑะเหี่ยวและมีขนาดเล็กลงผลิตเชื้ออสุจิไดนอยลง ขนาดและรูปรางกายของเชื้ออสุจิเปลี่ยนแปลง ความสามารถในการผสมกับไข่ลดลงความหนืดของน้ำเชื้อลดลง ในผูหญิงรังไขจะฝอเล็กลง ชองคลอดแคบและสั้นลง รอยยนและความยืดหยุนลดลง สารหลอลื่นภายในช่องคลอดลดลง  ทําใหเกิดอาการอักเสบและติดเชื้อไดงาย กลามเนื้อภายในอุงเชิงกรานหยอน ทาใหเกิดภาวะกระบังลมหยอนและกลั้นปสสาวะไมได 
  
ระบบประสาทและสมอง
         
          ขนาดของสมองลดลง  น้าหนักสมองลดลง จํานวนเซลลสมองและเซลลประสาทลดลง
ประสิทธิภาพการทํางานของสมองนอยลง ปฏิกิริยาการตอบสนองตอสิ่งตางๆ ลดลง การเคลื่อนไหวและความคิดเชื่องชา ทําใหเกิดอบัติเหตุได ความจําเสื่อมโดยเฉพาะเรื่องราวใหมๆ แตสามารถจําเรื่องราวเกาไดดีความกระตือรือรื้นนอยลง ความคิดอาจสับสนได แบบแผนการนอนเปลี่ยนแปลง เวลานอนนอยลง เวลาตื่นมากขึ้น  การมองเห็นไมดี รูมานตาเลกลงปฏิกิริยาการตอบสนองของรูมานตาตอแสงลดลง หนังตาตกแกวตาเริ่มขุนมัว เกิดตอกระจก รอบๆ กระจกตาจะมีไขมนมาสะสม
เห็นเป็นวงสีขาวหรือเทา ลานสายตาแคบ กลามเนื้อลูกตาเสื่อม ความไวในการมองภาพลดลง สายตายาวขึ้น มองภาพใกลไมชัด การมองเห็นในที่มืดหรือเวลากลางคืนไมดีตองอาศัยแสงชวยจึงจะมองเห็นไดชัดขึ้น ความสามารถในการเทียบสีลดลง การผลิตน้ำตาลดลง ทําใหตาแหงและเกิดภาวะระคายเคืองตอเยื่อบุตาได้ง่าย  การไดยินลดลง  หูตึงมากขึ้น เนื่องจากมีการเสื่อมของอวัยวะในหูช้นในมากขึ้น แกวหูตึงมากขึ้น ระดับเสียงสูงจะเสียการได้ยินมากว่าระดับเสียงต่ำ เสียงพูดของผูสูงอายุเปลี่ยนไป เพราะมีการเสื่อมของกลามเนื้อกลองเสียงและสายเสียงบางลง หลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหูชั้นในเกิดภาวะแข็งตัวมีผลทําใหเกิดอาการวิงเวียนศีรษะ และการเคลื่อนไหวไมคลองตัว
          การดมกลิ่นไมดีเพราะมกรเสื่อมของเยื่อบุโพรงจมูก การรับรสของลิ้นเสียไป ตอมรับรสทําหนาที่ลดลง โดยทั่วไปการรับรสหวานจะสูญเสียกอนรสเปรี้ยวรสขมหรือรสเค็ม เปนผลใหผูสูงอายุรับประทานอาหารไมอรอยเกิดภาวะเบื่ออาหาร


ระบบทางเดินหายใจ

          ความจุของปอดจะลดลง ทำให้มีปริมาตรของอากาศค้างในปอดเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากความยืดหยุ่นของเนื้อปอด และหลอดลมลดลงเยื้อหุ้มปอดแห้ง ทำให้การขยายตัวของปอดลดลง จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการคั่งของน้ำในปอดของคนสูงอายุได้ง่าย นอกจากนี้ยังมีการเกาะจับของแคลเซียมในกระดูกอ่อนของกระดูกซี่โครงและกระดูกสันหลัง ประกอบการทำงานของกล้ามเนื้อเสื่อมสภาพการเคลื่อนไหวของร่างกายถูกจำกัด การหายใจส่วนใหญ่จะต้องใช้กะบังลมช่วย ฉะนั้นผู้สูงอายุมักจะเหนื่อยหอบได้ง่าย
          ที่ทรวงอก พบว่า กระดูกสันหลังซึ่งเป็นแกนหลักของทรวงอกบางลงจากภาวะกระดูกพรุน ทำให้กระดูกสันหลังคดงอ ขณะ เดียวกันกระดูกซี่โครงยุบห่อตัวเข้าหากัน รวมทั้งกำลังการหดตัวของกล้ามเนื้อหายใจโดยรวมก็ลดลง เพราะฉะนั้น ผู้สูงอายุจะต้อง ออกแรงหายใจในขณะปกติมากขึ้น ทำให้การ ยืดขยายของทรวงอกขณะที่มีการหายใจเข้าไม่เต็มที่เท่าที่ควร จึง ต้องอาศัยกะบังลมและกล้ามเนื้อหน้าท้องช่วยในการหายใจเพิ่มจากกล้ามเนื้อหน้าอก ซึ่งเมื่อผู้สูงอายุได้รับการ ผ่าตัดช่องท้อง จึงทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนทางการหายใจหลังผ่าตัดได้ง่าย
การเปลี่ยนแปลงทางจิตใจและอารมณ์  
การเปลี่ยนแปลงทางจิตใจและอารมณ์   เป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย  เช่น  ความเจ็บป่วย  การเสื่อม ของระบบต่าง ๆ ในร่างกาย  สิ่งเหล่าล้วนก่อให้เกิดความวิตกกังวล  กดดันทางอารมณ์  และ จากการเปลี่ยนแปลงทางด้านบทบาทสังคม  เช่น  การเกษียณอายุ  การสูญเสียบทบาทใน การเป็นหัวหน้าครอบครัว  การเสียชีวิตของคู่สมรส  ญาติ  คนใกล้ชิดหรือเพื่อน  เหล่านี้มี ผลกระทบต่อจิตใจของผู้สูงอายุ  ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางจิตใจและอารมณ์ของ ผู้สูงอายุ  ดังนี้  
1.  อารมณ์  เปลี่ยนแปลงง่าย  กลัวถูกทอดทิ้ง  ขาดความมั่นใจในตนเอง  สูญเสียความคุ้นเคย  ไม่สามารถปรับตัวได้เพราะมีปมด้อย
  2.  นิสัย  เปลี่ยนไป  เฉื่อยชาต่อเหตุการณ์  ไม่เข้าสังคม  เก็บตัวอยู่ในบ้าน  ไม่นึกสนุกสนาน  คิดระแวงสงสัย  คิดว่าตนไม่มีประโยชน์  เป็นภาระต่อผู้อื่น  ซึมเศร้า  หงุดหงิด  โกรธง่าย  ใจน้อย  
3.  ความทุกข์ใจ  คิดถึงอดีตด้วยความเสียดาย  อาลัยอาวรณ์  คิดถึง ปัจจุบันด้วยความวิตก  เศร้าสลด  หวาดระแวง  คิดถึงอนาคตด้วยความหวาดกลัว  ว้าเหว่  ในรายที่สูญเสียคู่ชีวิต

การเปลี่ยนแปลงทางสังคม  
การเปลี่ยนแปลงทางสังคม จะเห็นได้ว่าผู้สูงอายุมีกิจกรรมหรือมีส่วนร่วมทางสังคมลดลง และสังคมก็ยอมรับและให้โอกาสในการเข้าร่วมกิจกรรมของผู้สูงอายุน้อยลงด้วย การมีกิจกรรมน้อยลงนี้ทำให้ผู้สูงอายุมีความรู้สึกในคุณค่าของตนเองลดลง ขาดการเรียนรู้และแลกเปลี่ยนจากสังคม การรับรู้ข้อมูลข่าวสารลดลง และนำไปสู่การแยกห่างจากสังคมอย่างสิ้นเชิง ปัญหาด้านสังคมและจิตใจมักมีความเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กันเสมอ การส่งเสริมด้านนี้ควรเริ่มตั้งแต่ในครอบครัวโดยการให้โอกาสผู้สูงอายุได้มีส่วนร่วมในการคิดและตัดสินใจเกี่ยวกับความเป็นไปในบ้านและหากเป็นไปได้ควรสนับสนุนและให้โอกาสผู้สูงอายุได้ร่วมกิจกรรมทางสังคมตามความชอบและความสนใจของผู้สูงอายุ
           
ปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม ของวัยสูงอายุ

1. ปัญหาทางด้านสุขภาพกาย ผู้สูงอายุมักจะมีปัญหาด้านสุขภาพเสื่อมโทรม มีโรคภัยต่างๆ เบียดเบียน ทั้งโรคทางกาย และทางสมอง  ผู้มีอายุเกิน 65 ปี มักมีการเปลี่ยนแปลงทางสมองคือ โรคสมองเสื่อม โรคหลงลืม โรคซึมเศร้า
2. ปัญหาทางด้านเศรษฐกิจ ผู้สูงอายุที่มีฐานะไม่ดี ไม่มีลูกหลานดูแลอุปการะเลี้ยงดู อาจจะไม่มีรายได ้หรือรายได้ไม่เพียงพอสำหรับการเลี้ยงชีพ อาจจะไม่มีที่อยู่อาศัยทำให้ได้รับความลำบาก
3. ปัญหาทางด้านความรู้ ผู้สูงอายุไม่มีโอกาสได้รับความรู้เพื่อการพัฒนาตนเอง ให้หมาะสมกับวัย และสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป
4. ปัญหาทางด้านสังคม  ผู้สูงอายุอาจไม่ได้รับการยกย่องจากสังคมเหมือนเดิม โดยเฉพาะผู้ที่เคยเป็นข้าราชการ ตำแหน่งสูง ซึ่งเคยมีอำนาจและบริวารแวดล้อม เมื่อเกษียณอายุราชการ อาจเสียดายอำนาจและตำแหน่งที่เสียไป เยาวชนและหนุ่มสาวหลายคนมีทัศนคติไม่ดีต่อผู้สูงอายุ เห็นคนรุ่นเก่าล้าสมัย พูด ไม่รู้เรื่องและไม่มีประโยชน์
5. ปัญหาทางด้านจิตใจ ผู้สูงอายุจะไม่ได้ร้บความเอาใจใส่ และความอบอุ่นจากลูกหลานอย่างเพียงพอ ทำให้รู้สึกว้าเหว่ และอาจจะมีความวิตกกังวลต่างๆ เช่น กังวลว่า จะถูกลูกหลาน และญาติพี่น้องทอดทิ้ง กังวลในเรื่องความตาย ผู้สูงอายุมักมีอารมณ์เปลี่ยนแปลง เช่น เศร้า เฉยเมย เอาแต่ใจตนเอง ผู้สูงอายบางคน ก็ยังมีความต้องการความสุขทางโลกีย ์ซึ่งไม่เหมาะสมกับวัยของตนทา ให้ได้รับความผิดหวัง
6. ปัญหาเกี่ยวกับครอบครัว ปัญหาผู้สูงงอายุที่น่าเป็นห่วงคือ การเปลี่ยนแปลงทางสังคม และวัฒนธรรม ในอดีตจะเป็นครอบครัวใหญ่ ที่เรียกว่าครอบครัวขยาย ทา ให้มีความสัมพนัธ์แน่นแฟ้น และเกิดความอบอุ่น ระหว่างพ่อ แม่ และลูกหลาน ในปัจจุบนัครอบครัวคนไทย โดยเฉพาะในเขตเมืองจะเป็นครอบครัวเดี่ยวเป็นส่วนใหญ่ ลูกหลานจะมาทำงานในเขตเมืองทิ้งพ่อ แม่ให้เฝ้าบ้าน
 ทา ให้ ผู้สูงอายุอยู่อย่างโดดเดี่ยว ไม่ได้ร้บการดูแล และได้ร้บความอบอุ่นดังเช่นอดีตที่ผ่านมา
7. ปัญหาค่านิยมที่เปลี่ยนแปลง ปัจจุบันความเปลี่ยนแปลงจากภาวะทางด้านเศรษฐกิจ และสังคม ทำให้เยาวชนมีความกตเวทีต่อพ่อ แม่ ครูอาจารย ์น้อยลง ผู้สูงอายุไม่ได่ร้บการดูแล ต้องอาศัยสถานสงเคราะห์คนชรา ในอนาคตเมื่อประเทศไทยเป็นประเทศอุตสาหกรรมแบบใหม่ สังคมไทยอาจกลายเป็นสังคมตะวันตกคือ ต่างคนต่างอยู่ไม่มีการเอื้อเฟื้อซึ่งกันและกัน ไม่มีการทดแทนบุญคุณ บุตรหลานโตขึ้นก็จะไม่เลี้ยงดูพ่อแม่เมื่อแก่ชรา