วันเสาร์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ความสัมพันธ์ระหว่างสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสิ่งอำนวยความสะดวกของพื้นที่ที่ใช้ในการเต้นแอโรบิกที่มีผลต่อการพฤติกรรมออกกำลังกายด้วยการเต้นแอโรบิก การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสิ่งอำนวยความสะดวกของสถานที่ที่ใช้ ในการเต้นแอโรบิกที่มีผล พฤติกรรมการออกกำลังกายด้วยการเต้นแอโรบิก ครั้งนี้ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ กลุ่มตัวอย่างที่ออกกำลังกายด้วยการเต้นแอโรบิก ในจังหวัดสุโขทัย พิษณุโลก จำนวน 450 คนโดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ด้วยสถิติ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบไคสแควร์ ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ และ การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า 1. พฤติกรรมออกกำลังกายด้วยการเต้นแอโรบิกของกลุ่มตัวอย่างพบว่าส่วนใหญ่มาออกกำลังคนเดียวร้อยละ 63.60 เดินทางโดยรถจักรยาน/รถจักรยานยนต์ ร้อยละ 74.70 ส่วนใหญ่จะมาก่อนการเต้นร้อยละ 73.80 หลังจากการเต้น 10 -1 5 นาทีจึงจะกลับที่พักร้อยละ 70.70 ความถี่ในการมาเต้นแอโรบิก 4 ครั้ง/สัปดาห์ร้อยละ 45.80 และระยะทางในการเดินทางไม่เกิน 1 กิโลเมตร ร้อยละ 53.80 2.พฤติกรรมการออกกำลังกายด้วยการเต้นแอโรบิกไม่มีความสัมพันธ์กับความถี่ในการออกกำลังกายด้วยการเต้นแอโรบิกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. สภาพแวดล้อมทางกายภาพและสิ่งอำนวยความสะดวกของสถานที่ที่ใช้ในการเต้นแอโรบิกมีความสัมพันธ์กับความถี่ในการออกกำลังกายด้วยการเต้นแอโรบิก อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 4.ปัจจัยด้านสภาพ แวดล้อมทางกายภาพ และสิ่งอำนวยความสะดวกของสถานที่ที่ใช้ในการเต้นแอโรบิก ที่มีผลต่อความถี่ในการออกกำลังกายด้วยการเต้นแอโรบิก พบว่า ตัวแปรพยากรณ์ที่ดีที่สุดที่มีผลต่อพฤติกรรมการออกกำลังกายด้วยการเต้นแอโรบิกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จำนวน 3 ด้าน คือ ด้านความสวยงามร่มรื่นของสิ่งแวดล้อม ประกอบด้วยตัวแปรการตัดแต่งต้นไม้ภายในสถานที่ ความกลมกลืนกับธรรมชาติของสถานที่ ความร่มรื่นของต้นไม้ภายในสถานที่ด้านความเหมาะสมของพื้นที่เต้นแอโรบิก ประกอบด้วยตัวแปรขนาดของพื้นที่ที่ใช้ในการเต้น แอโรบิก การวางแผนผังสถานที่ การกำจัดขยะมูลฝอย ด้านการถ่ายเท/ระบายอากาศ ประกอบด้วยตัวแปร การระบายอากาศ อากาศบริสุทธิ์ ข้อเสนอแนะที่ได้จากการวิจัยครั้งนี้คือ หน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการด้านการออกกำลังกายด้วยการเต้นแอโรบิก เช่น องค์การบริหารส่วนจังหวัด หรือองค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดสุโขทัย พิษณุโลก สามารถนำผลที่ได้จากการวิจัยไปประยุกต์ใช้ในการจัดการเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสิ่งอำนวยความสะดวกของสถานที่ใช้ในการออกกำลังกายเพื่อส่งเสริมให้ประชาชนให้ความสนใจในการออกกำลังกายมากขึ้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น